วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555













                              ยุคสำริด















             ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุงยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดารตีหรือการหล่อในแม่ พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา
เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างๆของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำ จากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น










ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความ มั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆ ของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริด แหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย










ยุคหินกลาง

         



ยุคหินกลาง


















การค้นพบหลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินในช่วงเวลาต่อมา เป็นเครื่องมือหินกะเทาะที่ประณีต ขนาดเล็กลง ไม่หยาบใหญ่และหนักเช่นยุคแรก เครื่องมือแบบนี้เรียกว่า เครื่องมือแบบฮัวบินเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งโบราณคดีที่พบเครื่องมือแบบนี้ครั้งแรกคือฮัวบินห์ (Hoa Binh) ประเทศเวียดนาม ชนิดของเครื่องมือจะมีหลายรูปแบบและใช้งานเฉพาะด้านมากกว่ายุคก่อน เช่น เครื่องมือปลายแหลม เครื่องมือขูด เครื่องมือทำจากสะเก็ดหิน รวมทั้งมีการนำเปลือกหอยและกระดูกสัตว์มาทำเป็นเครื่องมือสำหรับเจาะและขูด เป็นต้น
นอกจากเครื่องมือเครื่องใช้แล้วยังพบ กระดูกสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น เก้ง กวาง หมู กระทิง ควายป่า เสือ หมี ลิง ค่าง กระจง กระรอก หนู จระเข้ เต่า หอย ปู ปลา ชนิดต่างๆ ซากพืช เช่น ไผ่ ถั่ว สมอ และพบ โครงกระดูกของมนุษย์ ถูกฝังนอนงอเข่า มีแผ่นหินวางทับร่าง มีดินแดงโรยอยูบนร่าง และมีการฝังเครื่องเซ่นร่วมกับศพ
ในช่องยุคหินกลางนี้ สภาพแวดล้อมไม่แตกต่างจากยุคปัจจุบันเท่าใดนัก จากการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งทำให้ระดับน้ำทะเลค่อยๆ สูงขึ้น ทำให้ดินแดนบางส่วนจมลง เกิดหมู่เกาะต่างๆ ขึ้นมนุษย์ในยุคนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในถ้ำเพิ่งผาและสร้างกระท่อมอยู่ริมน้ำ ชายฝั่ง ทะเล และริมทะเล ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การเก็บพืชเมล็ดพืชและผลไม้ป่าเป็นอาหาร อพยพ โยกย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ในที่ที่มีอาหารมากพอและอุดมสมบูรณ์
การรวมกลุ่มสังคมในยุคนี้จะมีมากขึ้น มีพิธีฝังศพแสดงให้เห็นความเชื่อในชีวิตหลังความตายและความสัมพันธ์ของคนตาย กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ จากการกำหนดอายุพบว่ามนุษย์ในยุคนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อ ประมาณ 13,000-6,000 ปีมาแล้ว
แหล่งโบราณคดีในยุคหินกลางที่สำคัญได้แก่ ถ้ำหลังโรงเรียนและถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ ถ้ำผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ำไทรโยค ถ้ำองบะ ถ้ำเม่น จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำใกล้เขาจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยถ้ำเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขาสนามแจง อำเภอบ้านหรี่ จังหวัดลพบุรี และเนินใกล้ถ้ำฤๅษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

















ถ้ำผี หรือ ถ้ำผีแมน เป็นถ้ำเพิงผาขนาดเล็กบนภูเขาในเขตวนอุทยานถ้ำลอด ตำบลสบป่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบหลักฐานทางโบราณคดียุคหินกลาง อายุระหว่าง 13,000-7,500 ปีมาแล้ว ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบินเนียน ซากสัตว์ ซากพืช นอกจากนี้ยังพบหลักฐานแสดงความต่อเนื่องถึงยุคหินใหม่ ได้แก่ ขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผา แสดงให้เห็นสภาพชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำผีซึ่งเริ่มจาก การตั้งถิ่นฐานชั่วคราว ล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำและเก็บอาหารกินมาสู่การเริ่มต้นทำการเกษตร

ยุคหินเก่า

     

ยุคหินเก่า








          แหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคนี้พบว่ามีอยู่หลายแห่งโดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินเก่านั้นได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณกลุ่มละ ๓๐๓๐๐ คน มนุษย์กลุ่มนี้พากันดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บเผือกมันและผลไม้เป็นอาหาร  ใช้รากไม้-ใบไม้ รักษาการเจ็บป่วย  ไม่รู้จักทำไร่ไถนาปลูกพืช  ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา  ไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ ไม่มีภาษาเขียน มนุษย์บางกลุ่มไม่รู้จักการใช้ไฟ รู้จักที่จะนำกระดูกสัตว์และหินมากระเทาะด้านเดียวอย่างหยาบ ๆ มาเป็นเครื่องมือสับตัด โดยยังไม่รู้จักขัดถูให้ประณีต ดังจะเห็นได้จากขวานหินกำปั้น(First Axes) เป็นขวานหินประเภทกระเทาะ  รู้จักทำเข็มเย็บหนังสัตว์จากกระดูกสัตว์    บางครั้งมนุษย์ยุคหินเก่านี้ได้่วนใหญ่อาศัยถ้ำและเพิงผาเป็นที่พัก   หรือเร่ร่อนพเนจรหากินไปตามลำธาร  ซอกเขาต่าง ๆ ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ปลูกสร้างบ้านเรือนถาวร เมื่อที่ใดไม่มีแหล่งอาหารหมด  ก็จะเคลื่อนย้ายไปแหล่งอาหารใหม่เรื่อยไป      เมื่อตายลงก็จะนำศพไปฝังไม่ไกลจากถิ่นที่อยู่  
                  เมื่อพ..๒๕๒๖-๒๕๓๐คณะสำรวจได้สำรวจพบหลักฐานที่แสดงว่าแผ่นดินสุวรรณภูมิมีมนุษย์ยุคหินตอนต้นคือโฮโมซาเปี้ยน(Homosapien)ตั้งหลักแหล่งอยู่แล้ว มนุษย์ยุคนี้มีอายุระหว่าง ๓๗,๐๐๐๒๗,๓๕๐ ปี  ในครั้งนั้นศาสตราจารย์ ดักลาส แอนเดอร์สัน (Dr. Douglas Anderson) นักมานุษยวิทยาโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกับกรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดี  พบเครื่องมือหินกระเทาะ ถ่านจากเตาไฟ เครื่องปั้นดินเผา  กระดูกสัตว์เผาไฟ  และร่องรอยของการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคไพลสโตซีน(Plistocence) อยู่ในถ้ำหลังโรงเรียน (Lang Rongrean)  อยู่ที่บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่   หรือเพิงผาหินปูน เป็นมนุษย์ยุคเดียวกับมนุษย์  








โครมันยองที่พบในฝรั่งเศส
                     ต่อมาพ..๒๕๓๔ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร นักโบราณคดีไทยได้สำรวจพบเครื่องมือหินกะเทาะและร่องรอยการอยู่อาศัย ของมนุษย์โบราณยุคไพลสโตซีน ในถ้ำหมอเขียว ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เช่นเดียวกันได้มีการนำสิ่งที่ค้นพบไปทดสอบอายุด้วยรังสีนิวเคลียร์ที่สหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุกว่าสี่หมื่นปี
                   เมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีนั้นแผ่นดินบริเวณนี้ได้เกิดมีระดับน้ำทะเลซึ่งมีความสูงกว่าปัจจุบันราว ๔๕ เมตรหมายความว่าน้ำได้ท่วมบริเวณแผ่นดินเป็นบริเวณกว้างมีเกาะแก่งในทะเล  ต่อมาเมื่อประมาณ๒๕,๐๐๐๒๒,๐๐๐ ปีนั้น โลกได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นโดยภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินไหวไปทั่วโลก จนทำให้น้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับปัจจุบันถึง ๑๒๐ เมตร  ทำให้มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และสัตว์สามารถเดินทางทางบกไปมาระหว่างภูเขาและแผ่นดินต่างๆที่เคยเป็นเกาะแก่งต่างๆอยู่ในทะเลได้สะดวกสบาย  หลักฐานที่ยืนยันในเรื่องนี้คือแหล่งเกลือสินเธาว์บนบกและใต้ดินหลายแห่งที่พบว่าในสมัยดึกดำบรรพ์นั้นเป็นแหล่งน้ำเค็มมาก่อน เช่น บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบนภูเขาสูงที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า
                   บริเวณดังกล่าวนั้นได้เคยเป็นทะเลมาก่อน   ต่อมาเมื่อประมาณ ๘,๕๐๐-,๗๐๐  ปี ได้เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดซ้ำอีก ทำให้น้ำทะเลกลับขึ้นสูงถึงระดับปัจจุบัน ทำให้พื้นที่ซึ่งเคยเป็นพื้นดินดั้งเดิมได้กลายเป็นเกาะแก่ง   คนที่อยู่บนบกบางแห่งจึงกลายเป็นชาวเกาะ  พบว่ามีการเขียนภาพไว้ในถ้ำเพิงผาอยู่ตามเกาะต่างๆ   มีการใช้แพและเรือในการเดินทางระหว่างเกาะต่างๆ
                   ข้อสันนิษฐานนี้ให้คำตอบว่า มนุษย์และพืชหรือสัตว์ที่อยู่ต่างทวีปนั้น  เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นทะเลและเกาะใหญ่น้อยต่าง ๆขึ้น  ได้ทำให้มนุษย์และสัตว์เช่นช้าง ที่อยู่ในเกาะลังกา สุมาตรา และอินเดีย นั้น จึงมีชาติพันธ์และวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันได้
                  หลักฐานสำคัญที่พบคือเครื่องมือหินกระเทาะหยาบ และ ขวานหินกำปั้น ที่ใช้ในยุคหิน   อายุกว่า ๑๐,๐๐๐ปีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสำรวจพบที่จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณแควน้อยแควใหญ่ ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า  ตำบลจรเข้เผือก อำเภอเมือง ที่ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์  และที่อำเภอไทรโยค  










                นอกจากนี้ยังสำรวจพบเครื่องมือหินเก่าอีกหลายแห่งเช่น   พบขวานหินกระเทาะหยาบและขวานหินกำปั้นในจังหวัดกระบี่   พบที่อำเภอคลองท่อม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบที่ถ้ำเบื้องแบบ ในจังหวัดลำปาง      พบที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดแพร่     พบที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดเชียงใหม่  พบที่ผาช้าง ออบหลวง  ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน  และพบโลงศพทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายเรือขุดจากต้นซุง ขวานหิน ลูกปัดและหม้อดินเผาและซากพืช พวกหมาก  สมอพิเภก  ดีปลี  พลู พริกไทย และแตงกวา ที่ถ้ำผาชัน ถ้ำผีแมน (Spirit Cave) และถ้ำปุงฮุง สำหรับในจังหวัดเชียงรายนั้นพบขวานหินที่แหล่งโบราณคดีดอยคำ ริมฝั่งแม่น้ำคำ แม่น้ำโขง บ้านสบคำ บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน   อำเภอแม่สาย และอำเภอเมือง   จังหวัดเลย พบที่อำเภอเชียงคาน  ที่จังหวัดราชบุรี พบที่บ้านตะโกปิดทอง อำเภอสวนผึ้ง รวมทั้งมีการพบชิ้นส่วนขวานหินบนยอดเนินเขาที่ ๑๒ กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองและ ๑๕ กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมือง จังหวัดน่าน(เป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินโบราณ)  จังหวัดพะเยา พบบริเวณแม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และแม่น้ำเมย หลายแห่ง ส่วนใหญ่มักจะพบเครื่องมือหินในที่กลางแจ้งใกล้แม่น้ำหรือทางน้ำเก่า ยกเว้นที่ถ้ำพระ  อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีแห่งเดียวเท่านั้นที่พบเครื่องมือหินในถ้ำ

                  สำหรับหลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินเก่าในประเทศไทยนั้นพบอีกหลายแห่งเช่น เรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในถ้ำจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่   ในดอยถ้ำพระ อำเภอเชียงแสน  พบในพื้นที่ดินฝั่งซ้ายของแม่น้ำกก ห่างจากตัวจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร   พบบนเนินผาใกล้ถ้ำฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี   พบในถ้ำกระดำ เขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี  พบในถ้ำพระ ถ้ำทะลุ เขาหินกรวดระหว่างสถานีรถไฟบ้านเก่า ถึงสถานีท่ากิเลน  ใกล้แม่น้ำแควน้อย  พบบริเวณใกล้ทางรถไฟสาย ธนบุรี-น้ำตก  จังหวัดกาญจนบุรี และพบที่ทุ่งผักหวาน  ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
                   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง   เชลยศึกชาวฮอลันดาชื่อ ดรแวน    ฮิกเกอรแรน ซึ่งถูกญี่ปุ่นจับมาทำงานเป็นกรรมกรสร้างทางรถไฟสายมรณะ  ที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้พบเครื่องมือหินของมนุษย์โบราณที่ริมแม่น้ำแควน้อย ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว ๓๕ ไมล์ จึงได้เขียนรายงานเผยแพร่  ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีนักประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยหลายคณะ เช่น คณะของประเทศเดนมาร์ค  ของมหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้น    เรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบบริเวณบ้านเก่าแห่งนี้ เรียกว่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน  โดยนำคำว่า แควน้อยที่ชาวต่างประเทศเรียกว่าแฟน้อย หรือ ฟิงนอย มาตั้งชื่อวัฒนธรรมของมนุษย์หินเก่าที่พบในจังหวัดกาญจนบุรีนั่นเอง

ยุคหินใหม่




ยุคหินใหม่




    ยุคนี้เป็นยุคที่มีแหล่งโบราณคดีมากมายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบคือ เครื่องมือหินขัด ที่สำคัญคือ ขวานหินขัด ซึ่งชาวบ้านบางแห่งเรียกว่า ขวานฟ้า เชื่อกันเป็นขวานศักดิ์สิทธ์ที่ตกลงจากฟ้าใช้รักษาโรคได้ บางแห่งเรียกว่า เสียมตุ่น เชื่อกันว่าเป็นเสียมที่ตุ่นใช้ขุดดิน ลักษณะของเครื่องมือหินขัดมีหลายรูปแบบตามจุดมุ่งหมายการใช้งาน เช่น ขวาน ขวานถากหรือผึ่ง ขวานมีบ่า จักร สิ่ว เป็นต้น












     นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา พบเป็นภาชนะ เช่น หม้อ ไห จาน ชาม และเครื่องใช้อื่น เช่น ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา (ใช้ในการปั้นด้าย) หินดุ (ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะดินเผา) เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ เช่น ฉมวก สิ่ว เบ็ด เครื่องประดับ พบทั้งที่ทำด้วยหินกระดูก และเปลือกหอย เช่น กำไล ลูกปัด จี้ เครื่องจักสาน มักพบเป็นรอยพิมพ์ของเครื่องจักสานอยู่บนภาชนะ หรือในดิน
ยุคหินใหม่เป็นยุคแห่งเกษตรกรรม พืชที่สำคัญที่มนุษย์ยุคนี้ปลูกก็คือ ข้าว นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ ส่วนสัตว์เลี้ยงสำคัญ ได้แก่สุนัข หมู วัว ควาย การล่าสัตว์ยังคงพบหลักฐานการล่าเก้ง กวาง กระต่าย แรด กระจง กระรอก เต่า ตะพาบ หอย ปู และหลาชนิดต่าง ๆ












     หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่คือ หลุมฝังศพ ซึ่งมักจะฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ศพที่ฝังงอตัวหรือฝังในภาชนะดินเผาพบไม่มากนัก ภายในหลุมฝังศพมีเครื่องเซ่น เช่น อาหาร ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด และมีเครื่องประดับตกแต่งศพ เช่น กำไล ลูกปัด จี้ทำด้วยวัสดุต่าง ๆซึ่งการฝังศพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและการตายของมนุษย์จน ก่อเกิดประเพณีการฝังศพ นอกจากนี้แล้วบางครั้งพบพิธีกรรมที่ทำกับศพ เช่น มัดศพ กรอฟันศพ เป็นต้น
      สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่เปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่จากที่สูงมา อยู่บนที่ราบใกล้แหล่งน้ำอยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้าบนเนิน ดำรงชีวิตลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือ เกษตรกรรม ประเภทการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องจักสาน การทอผ้า เป็นต้น และพบว่ามีผลิตผลมากเกินกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย ส่วนการล่าสัตว์และการจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่
เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สังคมยุคหินใหม่จะซับซ้อนมากขึ้น มีความแตกต่างทางฐานะในสังคม มีการแบ่งงานกันทำ มีการทำงานเฉพาะด้าน และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนหรือการติดต่อทางวัฒนธรรม
     แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตร แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่พบส่วนใหญ่อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำเพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด ตัวอย่าง เช่น บ้านเก่า ในเขตลุ่มน้ำแควน้อย อำเภอเมือง                กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญ ในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ถ้ำพระตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โคกพนมดี ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี บึงไผ่ดำ ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
     บ้านเก่าเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักทั่วโลกแหล่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายแวน ฮีกเกอเร็นนักโบราณคดี ชาวเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะในบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยที่บ้านเก่าระหว่างการ สร้างทางรถไฟสายมรณะ จากนั้นจึงมีการสำรวจบริเวณนี้อีกหลายครั้งจนกระทั่งใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์กจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการสำรวจและขุดค้นอย่าง เป็นระบบขึ้น ซึงเป็นการดำเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย
   จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก เครื่องมือหินขัดที่พบเป็นขวานหินขัดที่มีลักษณะแบบผึ่งหรือขวานถาก สิ่วหินขัด หัวลูกศรปลายหอก หินลับ หินบด และจักรหินหรือแผ่นหินทำเป็นรูปวงกลมเจาะรูตรงกลาง กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ และเปลือกหอยพบทั้งที่เหลือจากการบริโภคและที่ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หัวลูกศร ปลาย หอก เบ็ด สิ่ว เข็ม และเครื่องประดับ ภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่บ้าน














เก่าพบเป็นจำนวนมากและมีรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น หม้อ ชาม กระปุก พาน และที่สำคัญจนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า คือ หม้อสามขา ภาชนะดินเผาเหล่านี้นอกจากจะพบเป็นเครื่องใช้แล้วยังพบอยู่ในหลุมฝังศพซึ่ง อาจเป็นภาชนะใส่เครื่องเซ่นสำหรับผู้ตายจากการเปรียบเทียบภาชนะดินเผาวา คล้ายคลึงกันกับภาชนะดินเผาของวัฒนธรรมลุงซานในประเทศจีน นอกจากภาชนะดินเผาแล้วยังพบเครื่องปันดินเผาชนิดอื่น เช่น ลูกกระสุนดินเผา แวดิน เผา เป็นต้น
     โครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากขุดค้นพบที่บ้านเก่า มักถูกฝังนอนหงายเหยียดยาว ตกแต่งศพด้วยเครื่องประดับ เช่น ลูกปัด กำไล มีความเชื่อในการกรอหรือถอนฟันของผู้ตายก่อนจะฝัง นอกจากนี้ยังมีการฝังเครื่องเซ่นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และอาจมีการฝังอาหารสำหรับผู้ตายด้วย
     สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่านี้มีอายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคโลหะ ข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า ซึ่งสร้างในบริเวณที่มีการดำเนินงานขุดค้น